Imageการปล่อยกระแสไฟฟ้าปริมาณที่พอเหมาะเข้าไป ในสมองของผู้ต้องขังบางราย เช่น ผู้ต้องขังโรคจิต ที่มีความก้าวร้าวรุนแรง จนอาจเป็นอันตรายต่อคนรอบข้าง..ผู้ต้องขังโรคจิตชนิดซึมเศร้า จนอาจถึงขั้นฆ่าตัวตาย เป็นต้นจะช่วยให้ผู้ต้องขังมีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด กรรมวิธีในการช็อคสมอง อาจดูน่ากลัว....แต่ก็เป็นวิธีที่วงการแพทย์ทั่วไปยอมรับ มีใช้อยู่ที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลจิตเวชทุกแห่ง......

เครื่องช็อคสมองด้วยไฟฟ้ามีใช้มานานแล้ว โดยนำมาใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1938 กับผู้ป่วยทางจิตเวช ต่อมาความนิยมก็ลดลง เนื่องจากมีการค้นพบยาใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่เครื่องนี้กลับมาเริ่มได้รับความนิยมใหม่ตั้งแต่ปี ค.ศ.1970 โดยพบว่าใช้ได้ผลดีในผู้ป่วยจิตเวชบางประเภท

จำเป็นต้องใช้กับผู้ต้องขังด้วยหรือ

Imageบางครั้งก็จำเป็นครับ ผู้ต้องขังบางรายมีปัญหาทางด้านจิตเวชก่อนเข้ามาในเรือนจำ บางรายก็เริ่มมีอาการหลังจากที่เข้ามาอยู่ในเรือนจำแล้ว กลุ่มผู้ต้องขังที่จะได้ประโยชน์จากการใช้เครื่องช็อคสมองได้แก่ :

  1. ผู้ต้องขังที่เป็นโรคจิตประเภทซึมเศร้าอย่างหนัก จนมีแนวโน้มจะฆ่าตัวตาย
  2. ผู้ต้องขังที่เป็นโรคจิตประเภทก้าวร้าว คลุ้มคลั่งจนอาจเป็นอันตรายต่อผู้อยู่รอบข้าง
  3. ผู้ต้องขังที่ป่วยเป็นโรคจิตเภทบางชนิด

ทั้งนี้ ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ จะพิจารณาใช้วิธีช็อคสมองด้วยไฟฟ้าก็ต่อเมื่อ การรักษาด้วยยาไม่ได้ผลแล้วเท่านั้น

กระแสไฟฟ้าทำให้เกิดอะไรขึ้นในสมอง และต้องใช้กระแสมากน้อยแค่ไหน

กระแสไฟฟ้าจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านไฟฟ้า-เคมีของเซลสมอง ซึ่งจะมีผลทำให้บุคคลิกของผู้ที่ถูกกระแสไฟฟ้าเปลียนแปลงไป ไฟฟ้าที่ใช้ในการช็อคสมองจะมีแรงเคลื่อนระหว่าง 140-170 โวลท์ และปล่อยกระแสไฟฟ้าครั้งละ 0.5-1.0 วินาที ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาในการช็อคไฟฟ้าตั้งแต่ 6-12 ครั้ง โดยเฉลี่ยแล้วคือ 3 ครั้งต่อสัปดาห์

Image Image

มีอันตรายหรืออาการแทรกซ้อนหรือเปล่า

Imageมีแน่นอน เพราะฉะนั้น ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์จะเลือก ใช้วิธีนี้ ก็ต่อเมื่อจำเป็นจริงๆเท่านั้น ขณะที่ปล่อยกระแสไฟฟ้า ผู้ป่วยอาจหยุดหายใจ จึงต้องมีเครื่องมือปฐมพยาบาลและเครื่องช่วยหายใจเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา หลังจากการช็อคไฟฟ้า ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้อจากการเกร็งกระตุก มีอาการมึนงง สับสน นอนหลับยากและจำความไม่ได้ อย่างไรก็ตาม จากสถิติของสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติของอเมริกาพบว่า ในอเมริกามีผู้ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้ประมาณ 110,000 รายต่อปี แต่ก็มีผู้คัดค้านการรักษาโดยวิธีนี้อยู่ไม่น้อย  ปัจจุบันทางทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ยกเลิกการใช้เครื่องฯนี้แล้ว

  • Dep Curr
  • DOC02
  • Gpo
  • Asso
  • การเยี่ยม
    mini logo

    ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
    33/2 ถนนงามวงศ์วาน เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900 
    อีเมล:hosdoc.mci@gmail.com
    โทร.: 0-2953-3999

     
    Follow Us :