Image
ทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ
ห้องสมุดคณะแพทย์ศาสตร์
เมื่อปี 2528 ทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ เริ่มมีคอมพิวเตอร์ใช้เป็นครั้งแรก โดยใช้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องขัง ต่อมาก็ใช้ในการเชื่อมต่อกับห้องสมุดของคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯเพื่ออ่านหนังสือในห้องสมุดผ่านทางคู่สายโทรศัพท์ ซึ่งค่อนข้างทุลักทุเล เนื่องจาก มีคู่สายโทรศัพท์ภายนอกอยู่เพียง 2 คู่สายเท่านั้น (ปัจจุบันนี้ คู่สายภายนอกที่มีอยู่ 40 คู่สายก็ยังไม่ค่อยจะพอใช้)เจ้าหน้าที่ของทัณฑสถานโรงพยาบาลฯก็ฝันว่าอีกไม่นาน คงได้ใช้คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลแทนการใช้กระดาษ แต่แผนพัฒนานวัตกรรมทางด้าน ไอ ที ก็ทำได้ยากมาก เพราะคอมพิวเตอร์ของทัณฑสถานโรงพยาบาลฯเมื่อ 20 ปีก่อนนั้น ไม่มี ฮาร์ดดิสก์ และทำงานช้าเหมือนเต่า

 

Image Image
เครื่อง IBM PC ที่ใช้อยู่เมื่อ 20 ปีก่อน กล้อง CCTV ระดับ Hi End

Imageต่อมาในปี 2544 ทัณฑสถานโรงพยาบาลฯได้รับงบประมาณ 410 ล้านบาทในการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยใหม่ นวัตกรรมต่างๆก็ได้ถูกนำมาใช้ในการควบคุมละบำบัดรักษาผู้ต้องขัง เริ่มตั้งแต่ระบบกล้องทีวีวงจรปิดมูลค่า 35 ล้านบาทที่ใช้ในการเฝ้าระวังผู้ต้องขัง 500 คนที่อยู่ในอาคาร 9 ชั้น กล้องทีวีวงจรปิดณภาพสูงที่ติดตั้งอยู่ในตัวอาคาร เป็นกล้องระดับมืออาชีพที่ใช้กันอยู่ตามบ่อนคาสิโนในลาสเวกัส (ซึ่งต้องการให้ผู้ควบคุมบ่อนคาสิโนสามารถซูมดูการโกงไพ่ กล้อง CCTV ระดับ Hi Endของลูกค้าได้) กล้องกว่าร้อยตัวที่ว่านี้ทำให้เจ้าหน้าที่ของทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนานวัตกรรมด้าน Tele-medicine ได้เป็นอย่างดี โดยการเชื่อมต่อระบบกล้องทีวีวงจรปิดเข้ากับระบบ Internet ทำให้แพทย์สามารถควบคุมกล้องทุกตัวใน ทัณฑสถานได้จากบ้านพัก (หรือจากที่ใดๆในโลกก็ได้ ที่มี Internet ใช้)

ปัจจุบัน ทัณฑสถานโรงพยาบาลยุคใหม่

สำนักงานไร้กระดาษ

Image
ภาพเอกซ์เรย์ที่ไม่ใช้ฟิล์มสามารถ
ถูกส่งออกไปทาง
Internet ได้

Image
เอกซ์เรย์ระบบดิจิตอล
ของทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ

สิ่งที่บุคลากรด้าน ไอ ที ทุกคนอยากเห็นก็คือการลดจำนวนกระดาษที่ใช้ในสำนักงานให้เหลือน้อยที่สุด ระบบเวช-ระเบียนอิเลคโทรนิค (Electronic Medical Record)ก็เป็นสิ่งที่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทุกคนอยากได้ เพื่อกำจัดปัญหาเอกสารจำนวนมหาศาลในโรงพยาบาลออกไปและ ภาพเอกซ์เรย์ที่ไม่ใช้ฟิล์มสามารถถูกส่งออกไปทาง Internet ได้ช่วยแก้ปัญหาเอกสารคั่งค้างหรือสูญหายอยู่ตามหน่วยงานต่างๆของโรงพยาบาล เอกซ์เรย์ระบบดิจิตอลของทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ เริ่มต้นที่ระบบ เอกซ์เรย์ดิจิตอล ซึ่งจะทำให้แผนกเอกซ์เรย์ของทัณฑสถานโรงพยาบาลฯกลายเป็นแผนกเอกซ์เรย์ที่ไม่ต้องพึ่งฟิล์มเอกซ์เรย์และน้ำยาล้างฟิล์มอีกต่อไป งบลงทุน 8 ล้านบาทสำหรับ ระบบเอกซ์เรย์นี้ใช้เวลาไม่นานก็คุ้มทุน (ไม่เชื่อลองถามช่างภาพมืออาชีพที่ทิ้งกล้องถ่ายภาพที่ใช้ฟิล์มแล้วหันมาใช้กล้อง แม้แต่เอกซ์เรย์ฟันของทัณฑสถานก็ใช้ระบบดิจิตอลเช่นกันดิจิตอลดูก็ได้ครับ)

 

Image

แม้แต่เอกซ์เรย์ฟันของทัณฑสถาน ก็ใช้ระบบดิจิตอลเช่นกัน

 

Image
แม้แต่เอกซ์เรย์ฟันของทัณฑสถาน ก็ใช้ระบบดิจิตอลเช่นกัน

การเตรียมฮาร์ดแวร์และระบบเครือข่าย

Image
เครื่องคอมพิวเตอร์ 140 เครื่องสามารถ
เชื่อมต่อเข้าไปในระบบ Gigabit LAN
ของทัณฑสถานฯได้อย่างสบาย

ระบบเครือข่ายของทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ ค่อนข้างสลับซับซ้อน เพราะจำเป็นต้องสามารถรองรับข้อมูลจำนวนมหาศาลได้ โดยระบบไม่ล่ม ข้อมูลที่ถูกส่งผ่านไปในเครือข่ายมีทั้งข้อมูลเอกสารที่เป็น Text file ทุกประเภท ข้อมูลที่เป็น Graphic file ขนาดเล็ก (เอกสารที่ได้จากการสแกน) และขนาดใหญ่(ภาพฟิล์มเอกซ์เรย์ดิจิตอล) ตลอดจน Video file ของระบบทีวีวงจรปิด ดังนั้น ระบบ LAN แบบ Gigabit จึงถูกเลือกนำมาใช้ ถึงแม้จะต้องลงทุนค่อนข้างสูง


Image Image
ตู้ชุมสายระบบ LAN ของทัณฑสถานฯ


การจัดหาซอฟแวร์ Electronic Medical Record

ธันวาคม 2548 เป็นวัน ดีเดย์ที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เริ่มนำระบบเวชระเบียนอิเลคโทรนิค(EMR)มาใช้ เป็นเฟสแรก ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการครบเต็มรูปแบบทุกแผนกภายในโรงพยาบาลแล้ว ช่วยประหยัดแรงงานของเจ้าหน้าที่ลงได้มาก การไหลเวียนของข้อมูล ผู้ต้องขังป่วยระหว่างหน่วยงานต่างๆ เช่น ห้องตรวจผู้ป่วย ห้องทันต-กรรม ห้องตรวจชันสูตร ห้องผ่าตัด หอผู้ป่วย ฯลฯ ก็จะดำเนินไปอย่าง เป็นระบบ โอกาสสูญหายของข้อมูลก็น้อยลง ความจำเป็นในการประกาศทำลายเอกสารการรักษาผู้ป่วยก็หมดไป แพทย์ของทัณฑสถานฯ(รวมทั้งแพทย์ที่ปรึกษา)ก็ทำงานสะดวก เพราะสามารถสืบค้นข้อมูลของผู้ป่วยได้โดยผ่านทาง Internet ได้อย่างง่ายดาย

 

Image Image Image

 


การเตรียมบุคลากร

ImageImageเป็นงานที่ยากที่สุดในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ของทัณฑสถานโรงพยาบาล เพราะเจ้าหน้าที่มีพื้นฐานความรู้ทางด้านนี้ไม่เท่ากัน และบางส่วนต้องใช้เวลาในการปรับตัวให้ยอมรับนวัตกรรมใหม่ๆเหล่านี้ ทัณฑสถานฯจำเป็นต้องวางแผนส่งบุคลากรไปรับการฝึกอบรม เพื่อให้สามารถทำหน้าที่เป็นผู้บริหาร ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้นอกจากนี้ ยังต้องจัดการฝึกอบรมภายในสถานที่หลายสิบครั้ง มีการอบรมทั้งกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อยและเป็นรายบุคคล เจ้าหน้าที่กลุ่มงาน ไอทีต้องทำงานกันหามรุ่งหามค่ำ เพื่อคอยให้บริการและแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ

 

ผลที่ได้รับจากนวัตกรรม

  1. ปัญหาเรื่องฟิล์มเอกซ์เรย์และเวชระเบียน ซึ่งกองเป็นภูเขาอยู่ในห้องต่างๆจะหมดไป การค้นหาและเรียกดูข้อมูลเอกซ์เรย์ และข้อมูลผู้ป่วยจะง่ายดายแค่ใช้เม้าส์คลิก
  2. ปัญหาเอกสารสูญหาย และการรอใช้เอกสารจะไม่เกิดขึ้น เพราะเอกสารจะไม่ได้มีเพียงชุดเดียวอีกต่อไป เจ้าหน้าที่ไม่จำกัดจำนวนห้องเก็บฟิล์มเอกซ์เรย์ในทัณฑสถานฯ สามารถเรียกดูเอกสารเรื่องเดียวกันในเวลาเดียวกันได้
  3. ระบบ "เครือข่ายรองเท้าแตะ" คืออาศัยผู้ต้องขังทำหน้าที่เดินเอกสาร เช่น นำเวชระเบียนจากห้องตรวจไปส่งห้องยา นำฟิล์มเอกซ์เรย์จากหอผู้ป่วยไปส่งที่ห้องผ่าตัด ฯลฯ จะไม่มีให้เห็นอีก
  4. ภาระงานของเจ้าหน้าที่ทุกคนจะลดลง (ยกเว้นเจ้าหน้าที่ ไอที)โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวบรวมสถิติ การจัดทำรายงาน การจัดเก็บเอกสาร ฯลฯ
  5. ความสะดวกในการเข้าสืบค้นเอกสารทุกประเภทจากจุดใดๆ ในทัณฑสถานโดยผ่านระบบ LAN และจากที่ใดๆในโลกโดยผ่านระบบ Internet

Image Image
ห้องเก็บฟิล์มเอกซ์เรย์ในทัณฑสถานฯ
  • Dep Curr
  • DOC02
  • Gpo
  • Asso
  • การเยี่ยม
    mini logo

    ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
    33/2 ถนนงามวงศ์วาน เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900 
    อีเมล:hosdoc.mci@gmail.com
    โทร.: 0-2953-3999

     
    Follow Us :