assoupdate
gallery activityletter

      Asso
      Update
      Gallery Activity
      0073333

      ข่าวทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์

      ดูข่าวทั้งหมด

      โรคไข้เลือดออก (Dengue)

         โรคไข้เลือดออกเกิดจากไวรัสเดงกี่ โดยมียุงลายบ้านเป็นพาหะนำโรคที่สาคัญ โดยยุงตัวเมียซึ่งกัดเวลากลางวันและดูดเลือดคนเป็นอาหารจะกัดดูดเลือดผู้ป่วย เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง เข้าไปอยู่ในเซลล์ที่ผนังกระเพาะ เพิ่มจำนวนมากขึ้นแล้วออกมาจากเซลล์ผนังกระเพาะ เดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลายพร้อมที่จะเข้าสู่คนที่ถูกกัดในครั้งต่อไป ซึ่งระยะฟักตัวในยุงนี้ประมาณ 8-12 วัน เมื่อยุงตัวนี้ไปกัดคนอื่นอีก ก็จะปล่อยเชื้อไวรัสไปยังผู้ที่ถูกกัดได้ เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายคนและผ่านระยะฟักตัวนานประมาณ 5-8 วัน (สั้นที่สุด 3 วัน - นานที่สุด 15 วัน) ก็จะทำให้เกิดอาการของโรคได้

      อาการไข้เลือดออก, ไข้เลือดออก, โรคไข้เลือดออก, ป้องกันไข้เลือดออก, ไวรัสเดงกี, ยุงลาย, ยุง

         อาการ

          อาการทางคลินิกของโรคไข้เลือดออกจะแสดงหลังจากได้รับเชื้อจากยุงประมาณ 5-8 วัน (ระยะฟักตัว) ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการของโรค ซึ่งมีความรุนแรงแตกต่างกันได้ ตั้งแต่มีอาการคล้ายไข้ไปจนถึงมีอาการุนแรงมากจนถึงช็อกและถึงเสียชีวิตได้ โรคไข้เลือดออกมีอาการสาคัญที่เป็นรูปแบบค่อนข้างเฉพาะ ได้แก่

      1. อาการไข้สูงลอย 2-7 วัน  ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทุกรายจะมีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ส่วนใหญ่ไข้จะสูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส ไข้อาจสูงถึง 40-41 องศาเซลเซียส ซึ่งบางรายอาจมีชักเกิดขึ้นโดยเฉพาะในเด็กที่เคยมีประวัติชัก
      2. อาการเลือดออก ที่พบบ่อยที่สุดคือที่ผิวหนัง โดยจะตรวจพบว่าเส้นเลือดเปราะ แตกง่าย ร่วมกับมีจุดเลือดออกเล็กๆกระจายอยู่ตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจมีเลือดกำเดาหรือเลือดออกตามไรฟัน ในรายที่รุนแรงอาจมีอาเจียนและถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ซึ่งมักจะเป็นสีดำ (melena) อาการเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนใหญ่จะพบร่วมกับภาวะช็อกในรายที่มีภาวะช็อกอยู่นาน
      3. ตับโต กดเจ็บ ส่วนใหญ่จะคลำพบตับโตได้ประมาณวันที่ 3-4 นับแต่เริ่มป่วย ตับจะนุ่มและกดเจ็บ
      4. ภาวะการไหลเวียนล้มเหลว ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยไข้เลือดออกจะมีอาการรุนแรง โดยเกิดภาวะการไหลเวียนโลหิตล้มเหลวหรือภาวะช็อค เนื่องจากมีการรั่วของพลาสมาออกไปยังช่องปอด/ช่องท้องมาก เกิด hypovolemic shock ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมๆกับที่มีไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว เวลาที่เกิดช็อกจึงขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่มีไข้ อาจเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรค หรือเกิดวันที่ 8 ของโรค ผู้ป่วยจะมีอาการเลวลง เริ่มมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเบา เร็ว และความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง

         การรักษา

         ขณะนี้ยังไม่มียาต้านไวรัสที่มีฤทธิ์เฉพาะสาหรับเชื้อไข้เลือดออก การรักษาโรคนี้เป็นการรักษาตามอาการและประคับประคอง ซึ่งได้ผลดีถ้าให้การวินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่ระยะแรก แพทย์ผู้รักษาจะต้องเข้าใจธรรมชาติของโรคและให้การดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด จะต้องมีการดูแลที่ดีตลอดระยะเวลาวิกฤตประมาณ 24-48 ชั่วโมงที่มีการรั่วของพลาสมา

      alt

         การดูแลรักษาผู้ป่วย มีหลักปฏิบัติดังนี้

      1. ในระยะไข้สูง บางรายอาจมีการชักได้ถ้าไข้สูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีประวัติเคยชัก หรือในเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน จำเป็นต้องให้ยาลดไข้ ควรใช้ยาพาราเซตามอล ห้ามใช้ยาพวกแอสไพริน เพราะจะทำให้เกร็ดเลือดเสียการทำงาน และระคายกระเพาะอาหารทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น และควรใช้การเช็ดตัวลดไข้ร่วมด้วย
      2. ให้ผู้ป่วยได้น้ำชดเชย เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มีไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ทำให้ขาดน้ำ ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำผลไม้หรือสารละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) ในรายที่อาเจียนควรให้ดื่มครั้งละน้อยๆ และดื่มบ่อยๆ
      3. ติดตามดูอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันภาวะช็อกได้ทันเวลา
      4. เมื่อผู้ป่วยไปตรวจที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ให้การรักษาได้ แพทย์จะตรวจเลือดดูปริมาณเกร็ดเลือดและความเข็มข้นของเลือด และอาจนัดมาตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของเกร็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะๆ เพราะถ้าปริมาณเกร็ดเลือดเริ่มลดลงและความเข้มข้นเลือดเริ่มสูงขึ้น เป็นเครื่องชี้บ่งว่าน้ำเลือดรั่วออกจากเส้นเลือดและอาจช็อกได้ จำเป็นต้องให้สารน้ำชดเชย

         วิธีการป้องกันตนเองและผู้ใกล้ชิดไม่ให้ถูกยุงลายกัด มีดังนี้ 

      1. นอนในมุ้ง
      2. สวมใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว
      3. ใช้สารไล่ยุง (Mosquito Repellents) ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น ชนิดเป็นขด เป็นแผ่น เป็นครีม เป็นน้ำ ฯลฯ ซึ่งเหมาะสาหรับการใช้งานที่แตกต่างกันไป เช่น ใช้ทาผิว ใช้ชุบเสื้อผ้า ใช้ชุบวัสดุปูพื้น เป็นต้น
      4. การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก  โดยเฉพาะแหล่งเพาะยุงลาย อาทิเช่น
      • ควรปิดปากภาชนะเก็บน้ำด้วยผ้า ตาข่ายไนล่อนอะลูมิเนียม หรือวัสดุอื่นที่สามารถปิดปากภาชนะเก็บน้ำนั้นได้อย่างมิดชิด จนยุงไม่สามารถเล็ดลอดเข้าใปวางไข่ได้
      • หมั่นเปลี่ยนน้ำทุกวัน ซึ่งเหมาะสาหรับภาชนะเล็ก ๆ ที่มีน้ำไม่มาก เช่น แจกันดอกไม้สด ทั้งที่เป็นแจกันที่หิ้งบูชาพระ แจกันที่ศาลพระภูมิ หรือแจกันประดับตามโต๊ะ รวมทั้งภาชนะและขวดประเภทต่างๆ ฯลฯ
      • ใส่ทรายในจานรองกระถางต้นไม้ เพื่อให้ทรายดูดซึมน้ำส่วนเกินจากการรดน้าต้นไม้ไว้ ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสาหรับกระถางต้นไม้ที่ใหญ่และหนัก ส่วนต้นไม้เล็กอาจใช้วิธีเทน้ำที่ขังอยู่ในจานรองกระถางต้นไม้ทิ้งไปทุกวัน
      • การเก็บทำลายเศษวัสดุ เช่น ขวด ไห กระป๋อง ฯลฯ และยางรถยนต์เก่าที่ไม่ใช้ หรือคลุมให้มิดชิดเพื่อไม่ให้รองรับน้ำได้

       

      mock1

      การรักษาพยาบาล

      สิทธิการรักษาพยาบาล >>

      สิทธิการรักษาพยาบาล >>
      นอกจากจะดูแลเรื่องสวัสดิการผู้ต้องขังแล้ว เรือนจำ/ทัณฑสถานทุกแห่งยังต้องจัดสวัสดิการให้เจ้าหน้าที่ด้วยตาม นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมราชทัณฑ์ ทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ เป็นหน่วยงานที่มีข้อจำกัดมากในการดำเนินการ เรื่องสวัสดิการเจ้าหน้าที่ เพราะ :
      1. ทัณฑสถานโรงพยาบาลฯไม่ได้ดำเนินกิจการร้านค้าฯ (คือ ไม่ได้ขายสินค้าเครื่องอุปโภค บริโภค ให้ผู้ต้องขังและญาติ)
      2. ไม่มีการรับจ้างแรงงานผู้ต้องขัง
      3. ไม่มีการผลิตสินค้าราชทัณฑ์ออกจำหน่าย
      4. การจัดสวัสดิการเจ้าหน้าที่จึงทำได้ไม่ดีนัก ยกเว้นในด้านที่สามารถของบประมาณได้

      แพทย์สาขาประจำสถานพยาบาล >>

      แพทย์สาขาประจำสถานพยาบาล >>
      ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ แบ่งงานแพทย์ออกตรวจเป็น
      • แพทย์ออกตรวจภายในทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
      • จุดประสงค์ เพื่อทำการตรวจรักษาผู้ต้องขังที่ส่งมาตรวจทั่วประเทศ และตรวจผู้ต้องขังป่วยที่นอนรักษาตัวภายใน
      • แพทย์ออกตรวจตามเรือนจำ/ทัณฑสถานลูกข่ายทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
      • จุดประสงค์ เพื่อตรวจผู้ต้องขังที่ป่วย และถ้าอาการหนักทำการส่งต่อ ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
      • แพทย์ออกตรวจคลินิก ณ.อาคารชวนชม
      • จุดประสงค์ ให้บริการประชาชนทั่วไป และครอบครัวกรมราชทัณฑ์ และจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ ที่ออกให้ตามเรือนจำ/ทัณฑสถานลูกข่าย

      อุปกรณ์ทันสมัย >>

      อุปกรณ์ทันสมัย >>
      • Dep Curr
      • DOC02
      • Gpo
      • Asso
      • การเยี่ยม
        mini logo

        ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
        33/2 ถนนงามวงศ์วาน เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900 
        อีเมล:hosdoc.mci@gmail.com
        โทร.: 0-2953-3999

         
        Follow Us :